ตั้งคณะทำงานฟื้นฟูธรรมชาติ ช่วงสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา

รายงานข่าวจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) แจ้งว่า จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา-ต.เขาถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง โดยได้แสดงความห่วงใยผลกระทบสิ่งแวดล้อม และได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ประสานการดำเนินโครงการฯ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา และมอบหมายให้ ทส. กำหนดแนวทางที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการอนุรักษ์ คุ้มครอง และขยายพันธุ์โลมาอิรวดี รวมถึงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในทะเลสาบสงขลา ให้มีความยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาล และ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม

ดังนั้นนายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดี ทช. มอบหมายให้นายวีรเดช ชีวาพัฒนานุวงศ์ รักษาการวิศวกรใหญ่ ด้านสำรวจและออกแบบ เข้าพบนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อหารือแนวทางในการแก้ไข อนุรักษ์ และฟื้นฟู ซึ่งจากการหารือในเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า จะดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในบริเวณทะเลสาบสงขลา โดยมีอธิบดีกรมทางหลวงชนบทและอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธานคณะทำงานร่วมกัน เพื่อวิจัย อนุรักษ์ และฟื้นฟูในการแก้ไขปัญหาการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดี และผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ทช. ยังให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในด้านการก่อสร้างสะพานได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและโลมาอิรวดี ประกอบด้วย ระยะก่อสร้าง 1.ก่อนทำการก่อสร้างฐานราก จะใช้ปลอกเหล็ก (Steel Casing)เพื่อใช้เป็นผนังกั้นน้ำ รวมถึงจะติดตั้งม่านดักตะกอน (Silt Protector)เพื่อล้อมรอบบริเวณการก่อสร้างไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายของตะกอนและวัสดุก่อสร้างสู่ทะเลสาบ และลดผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของโลมาอิรวดี

2.จัดตั้งทีมงานเพื่อเฝ้าระวัง หากพบโลมาอิรวดีจะให้หยุดการก่อสร้างไว้ก่อน รวมทั้งจะวางทุ่นแจ้งเตือนหากโลมาอิรวดีเข้ามาใกล้พื้นที่เขตก่อสร้าง เพื่อผลักดันให้โลมาอิรวดีกลับไปยังแหล่งหากินทางตอนเหนือที่ได้กำหนดให้เป็นเขตคุ้มครอง นอกจากนี้ยังได้กำหนดพื้นที่เฝ้าระวังโลมาอิรวดีบริเวณสะพานช่วงหลัก (บริเวณสะพานขึง) ซึ่งเป็นบริเวณทางด้านทิศเหนือของแท่นก่อสร้างชั่วคราว หากพบว่ามีการเข้ามาใกล้ในพื้นที่เฝ้าระวังจะมีการแจ้งเตือนให้ฝ่ายก่อสร้างรับทราบทันที โดยการใช้สัญญาณเสียงแตรลมและโทรศัพท์

3.จะเพิ่มพื้นที่แหล่งอาหารของโลมาอิรวดี โดยจะประสานกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้จัดทำบ้านปลาประเภทซั้งเชือก จำนวน 20 ชุด เพื่อให้สัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของโลมาอิรวดี และ 4.จะติดตั้งอุปกรณ์สำรวจเครื่องบันทึกเสียงใต้น้ำ (Acoustic Servey) เพื่อเก็บตัวอย่างคลื่นเสียงโลมาอิรวดีในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ 60 ตารางกิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์เชื่อมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคลื่นเสียงของโลมาอิรวดี

ส่วนระยะดำเนินการ จะติดตามตรวจสอบการแพร่กระจายของโลมาอิรวดี ด้านทิศเหนือของพื้นที่สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ความถี่ในการตรวจสอบ2ครั้ง ต่อ1ปี คือเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน เพื่อศึกษาและติดตามพฤติกรรมโลมาอิรวดีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ด้านการอนุรักษ์โลมาอิรวดีและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม กำหนดให้จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในบริเวณทะเลสาบสงขลา เพื่อวิจัย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศึกษาพฤติกรรม รวมถึงเพาะพันธุ์เพื่อแก้ไขปัญหาการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดี ต่อไป

สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา มีวงเงินค่าก่อสร้าง 4,841 ล้านบาท โดยในส่วนของค่าก่อสร้างมอบหมายให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ อัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณเป็น 70 : 30 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงปลายปี 66 แล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้ประชาชนได้ใช้สัญจรภายในปี 69

เพื่อช่วยลดระยะทางระหว่าง อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา และ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง จาก 80 กมคำพูดจาก เกมสล็อตทดลองเล่น. เป็น 7 กม. และลดระยะเวลาในการเดินทางจาก 2 ชั่วโมง เป็น 15 นาที นอกจากนี้จะสามารถพัฒนาการขนส่งโลจิสติกส์และเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงทะเลอันดามัน-อ่าวไทย พร้อมทั้งเชื่อม 3 จังหวัดคือ ตรัง พัทลุง และสงขลา รวมถึงสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ยกระดับความปลอดภัยในการเดินทาง และหากเกิดภัยพิบัติ จะสามารถอพยพประชาชนในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว

You May Also Like

More From Author